คำแนะนำ‌เพื่อ‌ความปลอดภัย‌สำหรับ‌เครื่องขัดมุม

  • เครื่องมือไฟฟ้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้งานเป็น‌เครื่องเจียร หรือ‌เครื่อง‌ตัดออก อ่านคำเตือนเพื่อความปลอดภัย คำแนะนำ ภาพประกอบ และข้อมูลจำเพาะทั้งหมดที่จัดส่งมาพร้อมกับเครื่องมือไฟฟ้า การ‌ไม่‌‌‌ปฏิบัติ‌‌ตาม‌‌คําแนะนํา‌‌ทั้งหมด‌‌ที่‌‌ระบุ‌‌ไว้‌‌ด้านล่าง‌นี้‌‌อาจ‌‌ทำให้‌‌‌ถูก‌‌‌ไฟฟ้า‌‌‌ดูด เกิด‌‌‌‌ไฟไหม้ และ/‌‌หรือ‌‌‌ได้รับ‌‌‌‌บาดเจ็บ‌‌‌อย่าง‌‌‌ร้ายแรง
  • ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องมือไฟฟ้านี้สำหรับงานขัดเงา เป็นต้น หาก‌ใช้‌‌เครื่อง‌‌ทำงาน‌‌ที่‌‌ไม่ได้‌‌ถูก‌‌ออกแบบ‌‌มา‌‌สำหรับ‌‌งาน‌‌นั้นๆ อาจ‌‌ทำให้‌‌เกิด‌‌อันตราย‌‌และ‌‌บาดเจ็บ‌‌ได้
  • อย่าใช้อุปกรณ์ประกอบที่ผู้ผลิตไม่ได้แนะนำให้ใช้ และไม่ได้ออกแบบไว้ให้ใช้เฉพาะกับเครื่องมือไฟฟ้านี้ ด้วย‌เหตุ‌‌เพียง‌เพราะ‌‌ท่าน‌‌สามารถ‌ต่อ‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌เข้ากับ‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌ของ‌‌ท่าน‌‌ได้ ก็‌มิได้‌‌เป็น‌การรับรอง‌‌ว่า‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌จะ‌ทำงาน‌‌ได้‌‌อย่าง‌‌ปลอดภัย
  • ความเร็วรอบ‌กำหนด‌ของ‌อุปกรณ์‌ประกอบ‌ต้อง‌เท่ากับ‌ความเร็ว‌รอบ‌สูงสุด‌ที่‌ระบุ‌ไว้บน‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้าเป็นอย่างน้อย อุปกรณ์‌ประกอบ‌ที่‌‌หมุน‌เร็วกว่า‌ความเร็ว‌รอบ‌กำหนด‌ของ‌‌ตัวเอง‌อาจ‌แตก‌และ‌กระเด็น‌ออก‌เป็นชิ้นๆ
  • เส้นผ่าศูนย์กลางรอบนอกและความหนาของอุปกรณ์ประกอบของท่านต้องอยู่ในพิกัดความสามารถของเครื่องมือไฟฟ้าของท่าน อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌ที่‌‌ผิด‌ขนาด‌‌จะ‌ไม่ได้รับ‌การปกป้อง‌‌และ‌‌ควบคุม‌‌อย่าง‌เพียงพอ
  • อุปกรณ์ประกอบที่ติดตั้งโดยการหมุนเกลียวต้องมีขนาดเกลียวที่เข้ากันพอดีกับเกลียวของแกนเครื่องเจียร สำหรับอุปกรณ์ประกอบที่ติดตั้งโดยใช้หน้าแปลน รูยึดของอุปกรณ์ประกอบต้องมีขนาดพอดีกับเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้าแปลน อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌ไม่‌‌เข้าคู่‌กับ‌ส่วน‌ที่ใช้ยึด‌ของ‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า จะวิ่ง‌ไม่‌สมดุล สั่นตัว‌‌มาก และ‌‌อาจ‌‌ทำให้‌สูญเสีย‌การควบคุม
  • อย่าใช้อุปกรณ์ประกอบที่ชำรุด ตรวจสอบอุปกรณ์ประกอบก่อนใช้งานทุกครั้ง เช่น จานขัดให้ดูรอยบิ่นและรอยแตกร้าว แผ่นหนุนให้ดูรอยแตกร้าว รอยฉีก หรือรอยสึกหรอที่มากเกิน แปรงลวดให้ดูการโยกคลอนหรือการแตกหักของเส้นลวด หากเครื่องมือไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ประกอบตกหล่น ให้ตรวจสอบความเสียหายหรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบที่ไม่ชำรุด หลังจากตรวจสอบและติดตั้งอุปกรณ์ประกอบแล้ว ตัวท่านเองและบุคคล‌‌ที่‌อยู่‌‌ใกล้เคียงต้องอยู่ห่างจากระนาบของอุปกรณ์ประกอบที่หมุน และปล่อยเครื่องมือไฟฟ้าเดินตัวเปล่าที่ความเร็วสูงสุดนานหนึ่งนาที ตาม‌ปกติ‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌‌ชำรุด‌‌จะ‌‌แตก‌ออก‌‌เป็น‌‌ชิ้นๆ ใน‌ช่วง‌‌เวลา‌‌ทดสอบ‌‌‌นี้
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันเฉพาะตัว ให้ใช้‌กระบัง‌‌ป้องกัน‌‌หน้า ‌แว่นตา‌‌กัน‌ลม‌‌และ‌‌ฝุ่น‌ หรือ‌‌แว่นตา‌‌ป้องกัน‌อันตราย‌โดย‌ขึ้นอยู่กับ‌ลักษณะ‌การทำงาน สวมหน้ากากกันฝุ่น ประกบหูกันเสียงดัง ถุงมือ และผ้ากันเปื้อนสำหรับช่างที่สามารถกันผงขัดหรือเศษชิ้นงานขนาดเล็กตามความเหมาะสม แว่น‌‌ป้องกัน‌‌ตา‌‌ต้อง‌‌สามารถ‌‌หยุด‌‌เศษผง‌‌ที่‌‌ปลิวว่อน‌‌ที่‌‌เกิด‌จาก‌‌การทำ‌งาน‌‌แบบ‌‌ต่างๆ ได้ หน้ากาก‌‌กัน‌‌ฝุ่น‌หรือ‌อุปกรณ์‌ป้องกัน‌ระบบ‌หายใจ‌ต้อง‌สามารถ‌กรอง‌อนุภาค‌ที่‌‌เกิด‌จาก‌‌การทำ‌งาน‌ของท่าน‌ได้ การ‌ได้ยิน‌‌เสียง‌ดัง‌‌มาก‌‌เป็น‌‌เวลา‌‌นาน‌‌อาจ‌‌ทำให้‌‌ท่าน‌‌สูญเสีย‌‌การ‌ได้ยิน
  • กันบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงให้อยู่ในระยะปลอดภัยห่างจากบริเวณทำงาน บุคคลใดที่เข้ามายังบริเวณทำงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันเฉพาะตัว เศษ‌วัสดุ‌‌ชิ้นงาน‌‌หรือ‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌‌แตกหัก‌‌อาจ‌‌ปลิว‌‌ออกมา‌ ‌และ‌‌ทำให้‌‌ได้รับ‌บาดเจ็บ‌‌นอก‌พื้นที่‌ปฏิบัติ‌งาน‌โดยตรง
  • เมื่อทำงานในบริเวณที่เครื่องมือตัดอาจสัมผัสสายไฟฟ้าที่ซ่อนอยู่หรือสายไฟฟ้าของตัวเครื่องเอง ต้องจับเครื่องมือไฟฟ้าตรงพื้นผิวจับที่หุ้มฉนวนเท่านั้น หากเครื่องมือตัดสัมผัสสายที่ “มีกระแสไฟฟ้า” ไหลผ่าน จะทำให้ชิ้นส่วนโลหะที่ไม่ได้หุ้มฉนวนของเครื่องมือไฟฟ้าเกิด “มีกระแสไฟฟ้า” ด้วย และส่งผลให้ผู้ใช้งานเครื่องถูกไฟฟ้าดูดได้
  • จับสายไฟฟ้าออกจากอุปกรณ์ประกอบที่กำลังหมุน หาก‌ท่านสูญเสีย‌การ‌ควบคุม ‌สาย‌‌ไฟฟ้า‌อาจ‌ถูก‌ตัด‌‌หรือ‌‌ถูก‌‌ดึงรั้ง‌‌ไว้ และ‌‌มือ‌‌หรือ‌‌แขน‌‌ของ‌ท่าน‌‌อาจ‌‌ถูก‌‌กระชาก‌‌เข้าหา‌อุปกรณ์‌ประกอบ‌ที่กำลังหมุน
  • อย่าวางเครื่องมือไฟฟ้าลงบนพื้นจนกว่าอุปกรณ์ประกอบจะหยุดหมุนและนิ่งอยู่กับที่แล้ว อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌‌หมุน‌‌อยู่‌‌อาจ‌‌เฉี่ยว‌‌ถูก‌‌พื้น‌‌และ‌‌กระชาก‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌ออกจาก‌‌การ‌ควบคุม‌‌ของ‌ท่าน
  • อย่าเปิดเครื่องมือไฟฟ้าทำงานขณะถือเครื่องไว้ข้างตัว เสื้อผ้า‌‌ของ‌‌ท่าน‌‌อาจ‌‌เกี่ยวพัน‌‌กับ‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌‌กำลัง‌‌หมุน‌‌โดย‌‌ไม่‌‌ตั้งใจ และ‌‌ฉุด‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌เข้า‌หา‌‌ร่างกาย‌‌ของ‌ท่าน‌‌ได้
  • ทำความสะอาดช่องระบายอากาศของเครื่องมือไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ พัดลม‌‌ของ‌‌มอเตอร์‌‌จะ‌ดูด‌‌ผงฝุ่น‌‌เข้าไป‌‌ใน‌‌ตัวเรือน และ‌‌ผง‌โลหะ‌‌ที่‌‌พอก‌‌สะสม‌กัน‌‌มาก‌เกินไป‌อาจ‌‌ทำให้‌‌เกิด‌‌อันตราย‌‌‌ทาง‌ไฟฟ้า‌‌ได้
  • อย่าใช้เครื่องมือไฟฟ้าทำงานใกล้วัตถุติดไฟได้ ประกาย‌ไฟ‌‌สามารถ‌‌จุด‌‌วัสดุ‌เหล่านี้‌‌ให้‌ลุก‌‌เป็น‌ไฟ
  • อย่าใช้อุปกรณ์ประกอบที่ต้องใช้สารหล่อเย็นที่เป็นของเหลว การใช้‌น้ำ‌‌หรือ‌‌สาร‌หล่อ‌เย็น‌‌อื่นๆ ที่‌เป็น‌‌ของ‌เหลว‌อาจ‌‌ทำให้‌‌กระแส‌‌ไฟฟ้า‌‌วิ่ง‌ผ่าน‌‌เข้า‌ตัว‌‌จน‌‌เสีย‌ชีวิต‌‌หรือ‌‌ถูก‌‌ไฟฟ้า‌‌ดูด‌‌ได้

การ‌ตีกลับ‌‌คือ‌‌แรง‌สะท้อน‌‌กะทันหัน‌‌ที่‌‌เกิด‌จาก‌‌จานขัด แผ่นหนุน แปรง และ‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌อื่นใด‌‌เกิด‌‌บิด‌‌หรือ‌‌ถูก‌‌เหนี่ยวรั้ง‌‌ขณะ‌‌กำลัง‌‌หมุน การบิด‌‌หรือ‌‌การ‌เหนี่ยวรั้ง‌‌ทำให้‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌‌กำลัง‌‌หมุน‌‌หยุด‌‌กะทันหัน ด้วยเหตุนี้‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌ที่‌‌ขาด‌‌การ‌ควบคุม‌‌จึง‌‌ถูก‌ผลัก‌‌ไป‌ใน‌‌ทิศทาง‌‌ตรงกันข้าม‌‌กับ‌‌การหมุน‌‌ของ‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ ณ จุด‌ที่‌‌เกิด‌การ‌‌ติดขัด
ตัวอย่าง เช่น หาก‌‌จานขัด‌‌ถูก‌‌เหนี่ยวรั้ง‌‌หรือ‌‌บิด‌‌โดย‌‌ชิ้นงาน ขอบ‌‌ของ‌‌จานขัด‌‌ที่‌‌ติด‌‌อยู่ใน‌‌จุด‌บิด‌‌อาจ‌‌ขูด‌‌เข้า‌ใน‌‌พื้นผิว‌‌ของ‌‌ชิ้นงาน ทำให้‌‌จานขัด‌‌ปีน‌ออก‌‌หรือ‌ผลักตัว‌ออกมา จานขัด‌‌อาจ‌‌กระโดด‌‌เข้าหา‌‌หรือ‌‌กระโดด‌‌ออกจาก‌‌ผู้ใช้‌‌เครื่อง ทั้งนี้‌‌ขึ้นอยู่กับ‌‌ทิศทาง‌‌เคลื่อนที่‌‌ของ‌‌จานขัด ณ จุดบิด ใน‌สถานการณ์‌‌เช่นนี้‌‌จานขัด‌‌อาจ‌‌แตกหัก‌‌ได้‌ด้วย
การ‌ตีกลับ‌‌เป็น‌ผล‌‌จาก‌‌การใช้‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌ใน‌ทาง‌‌ที่ผิด และ/‌‌หรือ‌‌มี‌‌กระบวนการ‌‌หรือ‌‌เงื่อนไข‌‌การ‌ทำงาน‌‌ที่‌‌ไม่‌‌ถูกต้อง และ‌‌สามารถ‌‌หลีกเลี่ยง‌‌ได้‌‌ด้วย‌การ‌‌ป้องกัน‌‌ไว้ก่อน‌‌อย่าง‌‌ถูกต้อง‌ดัง‌‌ระบุ‌ไว้‌‌ด้านล่าง‌นี้

  • จับเครื่องมือไฟฟ้าให้แน่น และตั้งตัวและแขนของท่านให้สามารถต้านแรงตีกลับได้ หากมีด้ามจับเพิ่ม ต้องใช้ด้ามจับเพิ่มร่วมด้วยเสมอ ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถควบคุมการตีกลับหรือกำลังสะท้อนจากแรงบิดขณะสตาร์ทเครื่องได้อย่างเต็มที่ ผู้ใช้‌‌เครื่อง‌‌สามารถ‌‌ควบคุม‌‌กำลัง‌‌สะท้อน‌‌จาก‌‌แรงบิด‌‌หรือ‌‌การ‌ตีกลับ หาก‌ได้‌‌ระมัดระวัง‌‌อย่าง‌‌ถูกต้อง‌‌ไว้ก่อน
  • อย่ายื่นมือของท่านเข้าใกล้อุปกรณ์ประกอบที่กำลังหมุนอย่างเด็ดขาด อุปกรณ์‌ประกอบ‌‌อาจ‌‌ตีกลับ‌มา‌‌ที่‌‌มือ‌‌ของ‌‌ท่าน‌ได้
  • อย่าให้ร่างกายของท่านอยู่ในบริเวณที่เครื่องมือไฟฟ้าจะเคลื่อนเข้าหาหากเกิดการตีกลับ การ‌ตีกลับ‌‌จะ‌‌ผลัก‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌ไปยัง‌‌ทิศทาง‌‌ตรงกันข้าม‌‌กับ‌‌การ‌เคลื่อนที่‌‌ของ‌‌จานขัด ณ จุด‌‌เหนี่ยวรั้ง
  • ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อทำงานบริเวณมุม ขอบแหลมคม ฯลฯ ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ประกอบกระเด้งกลับจากชิ้นงานและติดขัด มุม ขอบ‌‌แหลมคม และ‌การ‌กระเด้ง‌กลับ‌‌‌มัก‌จะ‌‌เหนี่ยวรั้ง‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌‌กำลัง‌‌หมุน และ‌‌ทำให้‌‌สูญเสีย‌‌การควบคุม‌‌หรือ‌ทำให้‌‌เกิด‌‌การ‌ตีกลับ
  • อย่าประกอบใบเลื่อยโซ่แกะสลักไม้หรือใบเลื่อยแบบมีฟัน ใบเลื่อย‌‌เหล่านี้‌‌ทำให้‌‌เกิด‌‌การ‌ตีกลับ‌‌และ‌สูญเสีย‌‌การควบคุม‌‌บ่อยครั้ง

  • ใช้เฉพาะจานประเภทที่แนะนำให้ใช้กับเครื่องมือไฟฟ้าของท่าน และกระบังป้องกันเฉพาะที่ออกแบบไว้สำหรับจานที่เลือกใช้เท่านั้น จาน‌‌ที่‌ไม่ได้‌‌ออกแบบ‌‌ไว้‌‌สำหรับ‌‌ใช้‌กับ‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌จะ‌‌ไม่ได้‌รับ‌การ‌‌ปกป้อง‌‌อย่าง‌‌เพียงพอ‌‌และ‌‌ไม่‌‌ปลอดภัย
  • จานขัดศูนย์จมควรติดตั้งในลักษณะที่พื้นผิวขัดจะต้องไม่ยื่นออกมานอกระนาบของขอบกระบังป้องกัน จาน‌ที่‌ติดตั้ง‌ไม่‌ถูกต้อง‌ที่‌ยื่นเลย‌ระนาบ‌ของ‌ขอบ‌‌กระบัง‌‌ป้องกัน‌จะ‌ไม่ได้‌รับการ‌ป้องกัน‌อย่าง‌เพียงพอ
  • ต้องประกอบกระบังป้องกันเข้ากับเครื่องมือไฟฟ้าอย่างแน่นหนาและปรับตำแหน่งให้ได้ความปลอดภัยสูงสุด ทั้งนี้เพื่อให้จานโผล่เข้าหาตัวผู้ใช้เครื่องน้อยที่สุด กระบัง‌‌ช่วย‌ปกป้อง‌‌ผู้ใช้‌‌เครื่อง‌‌จาก‌‌ชิ้นส่วน‌‌จาน‌‌ที่‌‌แตกหัก‌ ‌การ‌สัมผัส‌‌กับ‌‌จาน‌‌โดย‌‌ไม่‌‌ตั้งใจ และ‌ประกายไฟ‌ที่‌อาจ‌จุด‌เสื้อผ้า‌ให้‌ลุกไหม้‌ได้
  • ต้อง‌‌ใช้‌‌จาน‌สำหรับการ‌ใช้งาน‌‌ที่‌‌แนะนำ‌‌เท่านั้น ตัวอย่าง เช่น: อย่าขัดวัสดุด้วยด้านข้างของจานตัดออก จานตัด‌ออก‌‌ผลิตไว้‌‌เพื่อ‌‌ให้‌ใช้‌‌ตรง‌‌ขอบนอก‌‌ของ‌‌จาน‌ขัด‌‌วัสดุ แรง‌‌ด้านข้าง‌‌ที่‌‌กด‌ลง‌‌บน‌‌แผ่นจาน‌‌อาจ‌‌ทำให้‌‌จาน‌‌แตก‌‌ละเอียด‌‌ได้
  • ใช้หน้าแปลนรองรับที่ไม่ชำรุดที่มีขนาดและรูปร่างที่ถูกต้องสำหรับจานที่ท่านเลือกเสมอ หน้าแปลน‌รองรับ‌‌ที่‌‌ถูกต้อง‌‌จะ‌‌หนุน‌‌จาน และ‌‌ด้วยเหตุนี้‌‌จึง‌‌ลด‌‌การ‌แตกหัก‌‌ของ‌‌จาน หน้าแปลน‌รองรับ‌‌สำหรับ‌‌จานตัด‌‌อาจ‌‌มี‌‌ลักษณะ‌‌ต่างจาก‌หน้าแปลน‌รองรับ‌สำหรับ‌‌จานขัด
  • อย่าใช้จานที่สึกกร่อนมาจากเครื่องมือไฟฟ้าขนาดใหญ่กว่า จาน‌‌ที่‌‌ผลิตไว้‌‌สำหรับ‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌ขนาด‌ใหญ่‌กว่า‌‌ไม่‌‌เหมาะ‌‌จะ‌‌นำมา‌‌ใช้กับ‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌ขนาด‌เล็ก‌กว่า‌ที่‌มี‌‌ความเร็ว‌‌สูง‌กว่า และ‌‌อาจ‌‌แตก‌‌ระเบิด‌‌ได้

  • อย่าทำให้จานตัด “ติดขัด” หรือใช้แรงกดมากเกินไป อย่าพยายามตัดลึกมากเกินไป การออกแรง‌กด‌‌จาน‌‌ลง‌‌มาก‌‌เกินไป‌ จะ‌‌เพิ่ม‌‌แรงกดที่‌‌จาน‌‌และอาจ‌‌ทำให้‌‌จาน‌‌บิด‌‌หรือ‌‌ติดขัด‌‌ใน‌‌ร่องตัด‌‌ได้‌‌ง่าย‌ขึ้น และยัง‌‌เพิ่ม‌‌ความเสี่ยง‌ใน‌การ‌ตีกลับ‌‌หรือ‌‌ทำให้‌‌จาน‌‌แตกหัก‌‌ได้
  • อย่าให้ร่างกายของท่านอยู่ด้านหลังหรืออยู่ในแนวเดียวกันกับจานตัดที่กำลังหมุน ขณะ‌ที่‌‌จาน‌อยู่‌ใน‌‌ชิ้นงานและมีการ‌‌เคลื่อนที่ โอกาสที่เครื่องสะบัด‌‌อาจ‌‌เกิดขึ้น‌ได และ‌‌‌‌จาน‌‌ที่‌‌กำลัง‌‌หมุน‌ รวมทั้ง‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้าอาจดีด‌‌กลับ‌‌เข้าหา‌‌ร่างกาย‌‌ของ‌ท่าน‌‌ได้‌โดยตรง
  • เมื่อจานติดขัดหรือเมื่อการตัดถูกขัดจังหวะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ให้ปิดสวิทช์เครื่องมือไฟฟ้าและจับเครื่องมือไฟฟ้าค้างไว้จนจานหยุดสนิท อย่าพยายามเอาจานตัดออกจากร่องตัดในขณะที่จานกำลังเคลื่อนที่อย่างเด็ดขาด มิฉะนั้นอาจทำให้เครื่องสะบัดได้ ตรวจสอบ‌‌และ‌‌แก้ไข‌‌เพื่อ‌‌ขจัด‌‌สาเหตุ‌‌ที่‌‌ทำให้‌‌จาน‌‌ติดขัด
  • อย่าเริ่มตัดในชิ้นงานอีกครั้ง ปล่อยให้จานหมุนถึงความเร็วเต็มที่ก่อน จากนั้นจึงเริ่มตัดอีกครั้งอย่างระมัดระวัง จาน‌‌อาจ‌‌ติดขัด กระโดด‌ขึ้น หรือ‌ตีกลับ หาก‌‌เปิด‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌ทำงาน‌‌อีกครั้ง‌‌ใน‌‌ชิ้นงาน
  • หนุนแผ่นกระดานหรือชิ้นงานขนาดใหญ่เพื่อลดความเสี่ยงที่จานจะถูกหนีบและตีกลับ ชิ้นงาน‌‌ขนาด‌‌ใหญ่‌‌มัก‌จะ‌‌ห้อยหย่อน‌‌ตาม‌‌ความถ่วง‌‌น้ำหนัก‌‌ของ‌‌ตัว‌ชิ้นงาน‌‌เอง ต้อง‌‌สอด‌‌แผ่น‌หนุน‌‌ใต้‌‌ชิ้นงาน‌‌ทั้งสอง‌‌ด้าน ทั้ง‌‌ใกล้‌‌เส้นตัด‌‌และ‌‌ใกล้‌‌ขอบ‌‌ของ‌‌ชิ้นงาน
  • ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อทำการ “ตัดแบบเปิดช่อง” เข้าไปในผนังที่มีอยู่หรือบริเวณจุดบอดอื่นๆ จาน‌ที่‌‌ยื่น‌‌ออกมา‌‌อาจ‌‌ตัด‌‌เข้า‌ใน‌‌ท่อแก๊ซ‌‌หรือ‌‌ท่อน้ำ สาย‌ไฟฟ้า หรือ‌‌วัตถุ‌‌ที่‌‌อาจ‌‌ทำให้‌‌เกิด‌‌การ‌ตีกลับ‌‌ได้

  • อย่าใช้แผ่นกระดาษทรายที่มีขนาดใหญ่เกินไป ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตเมื่อเลือกกระดาษทราย กระดาษ‌‌‌‌ทราย‌‌‌‌ที่‌มี‌‌‌‌ขนาด‌‌‌‌ใหญ่‌กว่า‌‌‌‌ที่‌‌‌‌ยื่นยาว‌‌‌‌ออก‌นอก‌‌‌‌แผ่น‌รอง‌‌‌‌ขัด‌‌‌‌อาจ‌‌‌‌ทำให้‌‌‌เกิด‌‌‌การ‌บาดเจ็บ และ‌‌‌‌กระดาษ‌‌‌‌ทราย‌‌‌‌อาจ‌‌‌‌ถูก‌‌‌‌เหนี่ยวรั้ง ฉีกขาด หรือ‌‌‌‌ทำให้‌‌‌‌เกิด‌‌‌‌การ‌ตีกลับ‌‌‌‌ได้

  • พึงคำนึงไว้ว่าแม้ขณะใช้แปรงขัดตามปกติ ขนแปรงลวดอาจจะหลุดออกจากแปรงไปเองได้ อย่ากดเส้นลวดลงหนักเกินไปโดยใช้กำลังย้ำลงบนแปรง ขนแปรงลวดสามารถแทงทะลุผ้าบางๆ และ/หรือผิวหนังได้อย่างง่ายดาย
  • เมื่อต้องการขัดด้วยแปรงลวด หากมีการแนะนำให้ใช้เครื่องป้องกันร่วมด้วย ต้องตรวจสอบไม่ให้จานลวดหรือแปรงลวดแทรกเข้าไปในตัวกระบัง จานลวด‌‌‌‌หรือ‌‌‌‌แปรงลวด‌‌‌‌อาจ‌‌‌‌มี‌‌‌ขนาด‌‌‌‌เส้นผ่า‌‌‌‌ศูนย์กลางกว้างขึ้นเนื่องจากแรงกดและแรงเหวี่ยงจากจุดศูนย์กลาง

สวมแว่นตาป้องกันอันตราย

  • ใช้เครื่องตรวจจับที่เหมาะสมเพื่อตรวจหาสายไฟฟ้าหรือท่อสาธารณูปโภคที่อาจซ่อนอยู่ในบริเวณทำงาน หรือติดต่อบริษัทสาธารณูปโภคในพื้นที่เพื่อขอความช่วยเหลือ การสัมผัสกับ‌สายไฟฟ้า‌อาจทำให้‌เกิด‌ไฟไหม้‌หรือ‌ถูก‌ไฟฟ้าดูด การทำให้‌ท่อแก๊ซ‌เสียหาย‌อาจทำให้‌เกิด‌ระเบิด การเจาะ‌เข้าใน‌ท่อน้ำ‌ทำให้‌ทรัพย์สิน‌เสียหาย หรือ‌อาจ‌เป็นเหตุ‌ให้ถูก‌ไฟฟ้าดูด‌ได้
  • อย่าสัมผัสจานตัดและขัดจนกว่าจะเย็นลง ขณะ‌ทำงาน จาน‌จะ‌ร้อน‌มาก
  • เมื่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าถูกขัดจังหวะ ต. ย. เช่น เนื่องจากไฟฟ้าขัดข้องหรือดึงปลั๊กไฟฟ้าออก ให้ปลดล็อคสวิทช์เปิด-ปิด และสับสวิทช์ไปที่ตำแหน่งปิด ในลักษณะนี้‌จะ‌ช่วย‌ป้องกัน‌ไม่ให้‌เครื่อง‌ติดสวิทช์‌อีกครั้ง‌อย่าง‌ควบคุม‌ไม่ได้
  • ยึดชิ้นงานให้แน่น การยึด‌ชิ้นงาน‌ด้วย‌เครื่องหนีบ‌หรือ‌แท่นจับ‌จะ‌มั่นคง‌กว่า‌การยึด‌ด้วยมือ