การตรวจสอบและปรับตั้งการปรับพื้นฐาน

เพื่อให้แน่ใจว่าจะตัดชิ้นงานได้อย่างแม่นยำ หลังการใช้งานหนักท่านต้องตรวจสอบการปรับพื้นฐานของเครื่องมือไฟฟ้าและปรับตั้ง หากจำเป็น
สำหรับเรื่องนี้ท่านต้องมีประสบการณ์และเครื่องมือพิเศษที่สอดคล้องกัน

ศูนย์บริการลูกค้า บ๊อช ให้‌บริการ‌บำรุง‌รักษา‌ได้‌รวดเร็ว‌และ‌เชื่อถือได้

หมายเหตุ: เมื่อต้องการทดสอบการทำงานของเลเซอร์ ต้องเชื่อมต่อเครื่องมือไฟฟ้ากับแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า

  • ในขณะปรับเลเซอร์ (เช่น เมื่อเคลื่อนแขนเครื่องมือ) อย่ากดสวิทช์เปิด-ปิดอย่างเด็ดขาด การติด‌ขึ้นเอง‌โดย‌ไม่‌ตั้งใจ‌ของ‌เครื่องมือ‌ไฟฟ้า‌อาจ‌ทำให้‌บาดเจ็บ‌ได้
  • วาง‌เครื่อง‌ใน‌ตำแหน่ง‌ทำงาน
  • หมุนโต๊ะเลื่อย (16) ไปจนถึงช่องกัก (25) สำหรับ 0° คันปรับ (22) ต้องขบเข้าในช่องกักอย่างรู้สึกได้

การตรวจสอบ

  • วาดเส้นตัดตรงบนชิ้นงาน
  • เลื่อน‌แขน‌เครื่องมือพร้อมด้ามจับ (9) ลง‌‌อย่างช้าๆ
  • จัด‌ตำแหน่ง‌ชิ้นงาน‌ใน‌ลักษณะ‌ให้‌ฟัน‌ของ‌ใบเลื่อย‌อยู่‌ตรงแนว‌กับ‌เส้นตัด
  • จับชิ้นงานไว้ในตำแหน่งนี้ให้แน่นและเลื่อนแขนเครื่องมือขึ้นอย่างช้าๆ อีกครั้ง
  • หนีบชิ้นงานให้แน่น
  • เปิดลำแสงเลเซอร์ด้วยสวิทช์ (38)

ลำแสงเลเซอร์ต้อง‌ทาบ‌เรียบ‌กับเส้นตัดบนชิ้นงานตลอดความยาวทั้งหมด แม้เมื่อเลื่อนแขนเครื่องมือลง

การปรับ

  • หมุนสกรูปรับ (53) ด้วยไขควงที่เหมาะสมจนลำแสงเลเซอร์‌‌ทาบ‌เรียบ‌กับเส้นตัดบนชิ้นงานตลอด‌ความยาว‌ทั้งหมด

การหมุน‌ใน‌ทิศ‌ทวน‌เข็ม‌นาฬิกา‌หนึ่งรอบ‌จะ‌ย้าย‌ลำแสง‌เลเซอร์‌จาก‌ซ้าย‌ไป‌ขวา การหมุน‌ใน‌ทิศ‌ตาม‌เข็ม‌นาฬิกา‌หนึ่งรอบ‌จะ‌ย้าย‌ลำแสง‌เลเซอร์‌จาก‌ขวา‌ไป‌ซ้าย

  • วาง‌เครื่อง‌ใน‌ตำแหน่ง‌ขนย้าย
  • หมุนโต๊ะเลื่อย (16) ไปจนถึงช่องกัก (25) สำหรับ 0°คันปรับ (22) ต้อง‌ขบเข้า‌ใน‌ช่องกัก‌อย่าง‌รู้สึก‌ได้

การตรวจสอบ

  • ตั้ง‌อุปกรณ์‌วัดมุม‌ที่ 90° และ‌วางไว้‌บน‌โต๊ะเลื่อย (16)

ขา‌ของ‌อุปกรณ์‌วัดมุมต้อง‌ทาบ‌เรียบ‌กับ‌ใบเลื่อย (12) ตลอด‌ความยาว‌ทั้งหมด

การปรับ

  • คลายคันหนีบ (39)ออก
  • ดันตัวหยุด (42) ไปทางด้านท้ายจนสุด
  • คลายน๊อตล็อคของสกรูหยุด (55) ออกโดยใช้ประแจแหวนหรือประแจปากตาย (10 มม.) ที่มีจำหน่ายทั่วไป
  • ขันสกรูหยุดเข้าหรือออกจนขาของอุปกรณ์วัดมุมทาบเรียบกับใบเลื่อยตลอดความยาวทั้งหมด
  • ยึดคันหนีบ (39) กลับ‌เข้า‌ให้‌แน่น‌อีกครั้ง
  • จากนั้นจึงขันน๊อตล็อคของสกรูหยุด (55) กลับให้แน่นอีกครั้ง

เมื่อปรับแล้ว หากเข็มชี้มุม (41) ไม่อยู่ในเส้นแนวเดียวกับเครื่องหมาย 0° ของมาตราส่วน (40) ให้คลายสกรู (54) ออกด้วยไขควงปากแฉกที่มีจำหน่ายทั่วไปและปรับแนวเข็มชี้มุมให้เทียบเคียงเครื่องหมาย 0°

  • จัด‌เครื่องมือไฟฟ้าให้อยู่ในตำแหน่งทำงาน
  • หมุนโต๊ะเลื่อย (16) ไปจนถึงช่องกัก (25) สำหรับ 0° คันปรับ (22) ต้องขบเข้าในช่องกักอย่างรู้สึกได้
  • หมุนตัวหยุด (29) ไปทางด้านหน้าจนสุด
  • คลายคันหนีบ (39)
  • หมุนแขนเครื่องมือโดยจับตรงด้ามจับ (9) ไปทางซ้ายจนสกรูหยุด (56) วางอยู่เหนือตัวหยุด (29)

การตรวจสอบ

  • ตั้ง‌อุปกรณ์‌วัดมุม‌ที่ 45° และ‌วางไว้‌บน‌โต๊ะเลื่อย (16)

ขา‌ของ‌อุปกรณ์‌วัดมุม‌ต้อง‌ทาบ‌เรียบ‌กับ‌ใบเลื่อย (12) ตลอด‌ความยาว‌ทั้งหมด

การปรับ (ดูภาพประกอบ X)

  • คลายน๊อตล็อคของสกรูหยุด (56) ออกโดยใช้ประแจแหวนหรือประแจปากตาย (10 มม.) ที่มีจำหน่ายทั่วไป
  • ขันสกรูหยุดเข้าหรือออกจนขาของอุปกรณ์วัดมุมทาบเรียบกับใบเลื่อยตลอดความยาวทั้งหมด
  • ยึดคันหนีบ (39) กลับ‌เข้า‌ให้‌แน่น‌อีกครั้ง
  • จากนั้นจึงขันน๊อตล็อคของสกรูหยุด (56) กลับให้แน่นอีกครั้ง

ในกรณีที่เมื่อปรับแล้วเข็มชี้มุม (41) ไม่อยู่ในแนวเส้นขีด 45° ของมาตราส่วน (40) ในขั้นแรกให้ตรวจสอบการตั้ง 0° สำหรับมุมเอียงในแนวตั้งและเข็มชี้มุมอีกครั้ง จากนั้นจึงปรับซ้ำมุมเอียงในแนวตั้ง 45°

  • วาง‌เครื่อง‌ใน‌ตำแหน่ง‌ทำงาน
  • หมุนโต๊ะเลื่อย (16) ไปจนถึงช่องกัก (25) สำหรับ 0°คันปรับ (22) ต้องขบเข้าในช่องกักอย่างรู้สึกได้

การตรวจสอบ

  • ปรับอุปกรณ์วัดมุมไปที่ 90° และวางไว้ระหว่างแผ่นกั้น (14) และใบเลื่อย (12) บนโต๊ะเลื่อย (16)

ขา‌ของ‌อุปกรณ์‌วัดมุม‌ต้อง‌ทาบ‌เรียบ‌กับ‌ใบเลื่อย (12) ตลอด‌ความยาว‌ทั้งหมด

การปรับ

  • คลายสกรูตั้งทั้งสี่ตัว (58) ออกด้วยไขควง‌‌ปากแฉก และหมุนโต๊ะเลื่อย (16) พร้อมกับมาตราส่วน (18) จนขาของอุปกรณ์วัดมุมทาบเรียบกับใบเลื่อยตลอดความยาวทั้งหมด
  • ขัน‌สกรู‌กลับให้แน่นอีกครั้ง

ในกรณี‌ที่‌เมื่อ‌ปรับ‌แล้วเข็ม‌ชี้‌มุม (24) ไม่‌อยู่‌ในแนว‌เส้นขีด 0° ของ‌มาตรา‌ส่วน (18) ให้‌คลาย‌สกรู (57) ออกด้วย‌ไขควง‌‌ปากแฉก และ‌วาง‌แนว‌‌เข็ม‌‌ชี้‌มุม‌‌เทียบกับ‌‌เส้นขีด 0°